วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

Channel in-a-box

 Channel in-a-box


    เนื่องจากผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์หลายช่องในปัจจุบัน  ต่างก็อยู่ภายใต้ความกดดันงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนเครื่องมือออกอากาศและทรัพยากรมนุษย์ ทั้งลดความซับซ้อนของการดำเนินงานให้น้อยลง โดยการหาระบบหรือวิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เพื่อปกป้องธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานให้น้อยลง พัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกอากาศให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น  แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข มีความยืดหยุ่น ไม่มีความเสี่ยง สามารถปรับได้ตามความต้องการ และระบบจะต้องมีประสิทธิภาพสูง เพราะคุณภาพของภาพ/เสียงบนเนื้อหารายการ(Content) ที่นำเสนอออกผ่านหน้าจอคือประเด็นที่สำคัญมากสำหรับการแข่งขันของสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการนำContent เพื่อเสนอออกอากาศบนหน้าจอที่ไม่ใช่รายการสด ส่วนใหญ่มักจะใช้ระบบ Video Play-out Server  ซึ่งจะติดตั้งประจำอยู่ภายในห้องออกอากาศหลักของสถานีโทรทัศน์ (MCR - Master Control Room)  โดยอุปกรณ์ภายใน MCR สนับสนุนการทำงานหลายฟังก์ชั่น เช่น  Master Switcher สำหรับเลือกรายการสำหรับออกอากาศ, DVE สำหรับย่อขยายภาพ , ระบบ Panel Control Router รองรับรายการสดจากแหล่งที่มาภายนอก  , ระบบการเช็คสัญญาณภาพ/เสียง หรือ Multi-view / Monitor , ระบบ Playlist สำหรับการเรียกผังรายการผ่าน Video Play-out Server สำหรับออกอากาศ , ผลิตโลโก้-ตัวหนังสือ(CG) ตัววิ่งในขณะออกอากาศฯ
     เหตุผลที่รองรับการทำงานหลายฟังก์ชั่นของระบบ MCR นี้เอง ทำให้ต้องจัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์การสนับสนุนออกอากาศหลายระบบ สิ้นเปลืองพลังงานฯ ใช้พื้นที่สำหรับติดตั้งเยอะ ต้องใช้บุคลากรในการปฏิบัติหลายคน และเสียค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ออุปกรณ์ค่อนข้างสูง

     " Channel in-a-box" คือการรวมฟังก์ชั่นการทำงานของระบบภายในห้องออกอากาศหลักของสถานีโทรทัศน์ (MCR - Master Control Room) ให้มารวมอยู่ในเครื่อง Computer Server เพียงเครื่องเดียว สามารถทำงานได้หลายฟังก์ชั่น มีจอแสดงผลชัดเจนรายละเอียดครบ  คนทำงานเพียงคนเดียวสามารถทำได้หมดMCR  ตั้งแต่ ที่ทำหน้าที่เลือกสัญญาณภาพ/เสียงจากที่มาต่างๆ เช่น  จาก Video Play-out Server  โปรโมท  วิดีโอคลิปต่างๆ ที่เชื่อมต่อไปในStorage (รองรับระบบมาตรฐาน File base ในทั่วๆไป) มีเครื่องผลิตโลโก้-ตัวหนังสือ อักษรวิ่ง SMS รองรับรายการถ่ายทอดสดจากภายนอกได้โดยอิสระ  ตรวจเช็คสัญญาณเข้า/ออก ได้โดยผ่านระบบ Multi-view Monitor ที่ต่อออกมาจากตัวเครื่อง ใช้พื้นที่สำหรับติดตั้งน้อย  ที่สำคัญคือประหยัดค่าไฟฟ้าไม่เปลืองพลังงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการลงทุนได้ในระดับนึงได้อย่างแน่นอน
     
  
By วีรเทพ วุฒิ   weeratap@hotmail.com










 

 

วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557

September 2014

https://plus.google.com/102403067064398413189/stories/e2d41a45-3d78-3ee2-8b17-3dd23af63a9714a84fe0c7b?authkey=

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Point of view camera angle ( POV )

กล้อง พอยต์ ออฟ วิว  Point of view camera angle   ( POV )

     กล้องประเภทนี้จะใช้ถ่ายให้ผู้ดูเห็นภาพเหตุการณ์จากสายตาของผู้แสดงอีกทีหนึ่ง ผู้ดูจะเห็นผู้แสดงจากมุมกล้องObjective และเห็นภาพที่ผู้แสดงเห็นจากมุมกล้องพอยต์ ออฟ วิว ตัวอย่างเช่น ภาพแรกผู้ดูเห็นภาพเฮลิคอปเตอร์บินเหนือกรุงเทพฯ ตัดภาพไปที่คนขับมองลงมาข้างล่าง แล้วตัดเป็นภาพการจราจรในกรุงเทพฯ ภาพการจราจรในกรุงเทพฯ เป็นภาพจากมุมกล้องพอยต์ ออฟ วิว ของคนขับเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
http://www.youtube.com/watch?v=sLFN8A5gMcs











File Base & Wrappers and Containers

Wrappers and Containers

   จะเห็นได้ว่ามีมาตรฐานการบีบอัดและจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้มข้อมูลวิดีโออยู่หลายแบบ บางชนิดก็เป็นแบบที่เป็นการใช้งานเฉพาะตัว เช่น Window Media และ Real Video แบบอื่นที่เหลือตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างของวิธีการห่อหุ้มข้อมูลภาพและเสียงที่ถูกบีบอัดตามมาตรฐาน ตัวห่อหุ้มจะทำหน้าที่กำหนดประเภทของภาพและเสียงที่นำเสนอ และข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อหัวเรื่อง ชื่อของผู้ผลิตหรือรายละเอียดอื่นๆ เรามักจะเห็นวิดีโอที่มีหลากหลายรูปแบบเช่น วิดีโอที่เกิดจากการส่งออกอากาศของสถานีส่ง วิดีโอที่ผ่านเครือข่าย Internet หรือาจเป็นวิดีโอที่อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูล เราจะพบว่าแม้ดูจากภายนอกเป็นครั้งแรกดูเสมือนว่ามันเป็นความแตกต่างกันก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานธรรมดาไม่กี่ชนิดเอง

MXF (Material eXchange Format) 

เป็นแพคเกจของมาตรฐานหนึ่ง ที่ได้ห่อหุ้ม (wrapper )หรือบรรจุ เนื้อหาข้อมูล Media (Video ,Audio) รวมถึงรายละเอียดของข้อมูล (metadata )

- MXF Operational Pattern Atom (OP-Atom) ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในบ้านเราจะเป็นผลิตภัณฑ์ Panasonic , Ikegami Editcam

- MXF Operational Pattern 1a (OP1a) เป็นผลิตภัณฑ์ Sony XDCAM








High Efficiency Video Coding ( 4K )

High Efficiency Video Coding (HEVC)

H.265นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยมีเป้าหมายคือการลดBandwidth ในการสตรีมมิงวีดีโอลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฟอร์แมต H.264 ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4k ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ และยังช่วยให้การสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ HD บนเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่มีข้อจำกัดเรื่องBandwidthนั้นดีขึ้น

http://www.youtube.com/watch?v=lXY8Szhz42M









Broadcast Management System (BMS)

 Broadcast Management System

BMS คือระบบบริหารรายการและการโฆษณา สำหรับสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุครบวงจรตั้งแต่การเริ่ม จัดหา,กำหนด,รวบรวมข้อมูลของรายชื่อของContent (Acquisition) ไปจนถึงการจัดผังรายการที่จะออกอากาศ การจัดแพคเกจการขายโฆษณาต่างๆ จนถึงการออกใบแจ้งหนี้ และยังมีรายงานหลายหลายมุมมองที่สามารถนำมาตรวจสอบได้ และสามารถจัดผังรายการสำหรับออกอากาศได้ง่ายโดยเพียงลาก-วางบน Software Computer เท่านั้น

ประโยชน์ของระบบ BMS

 - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนงานการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ บริหารจัดการรายการ ควบคุมผัง,การเซ็นเซอร์ ,จัดการการออกอากาศ ,ยืดหยุ่น รองรับการใช้งานของสถานี และการออกอากาศ Re-run ได้สมบูรณ์แบบที่สุด

- ช่วยเพื่มประสิทธิภาพในระบบการขายโฆษณา สามารถสร้าง Package การขายที่ยืดหยุ่น รองรับทุกรูปแบบสื่อโฆษณา รวมถึงสามารถจัดโปรโมชั่นการพ่วงขายข้ามสถานีได้แบบง่ายดาย

- ช่วยให้งานด้านปฏิบัติการให้เป็นระบบและรวดเร็วมากขึ้น ในเรื่องของ Media Management เช่น ควบคุมสินค้าของสถานีโทรทัศน์ ( รายการโฆษณา รายการโปรโมท โลโก้ และอื่นๆ)

- ช่วยให้การจัดคิวโฆษณาเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบลาก-วาง พร้อมตัวช่วยที่พร้อมให้ใช้งานตามความต้องการ เช่น การพิมพ์ผังคิวโฆษณารายวัน , การส่งออก Playlist ไปยังระบบออกอากาศของสถานีฯ

- รองรับการบริหารรายการได้หลายช่องด้วยระบบเดียว(Multi-Channel Support) คือ สามารถทำผังรายการหลายๆโปรแกรมหรือหลายช่องสำหรับองค์เดียวกัน

- ช่วยควบคุมและตรวจประสานงานระหว่างแผนกต่างๆมากขึ้น

- ช่วยการบริหารงานสำหรับผู้บริหารด้วยระบบ Workflow และ Executive Report โดยจะเป็น Report รูปแบบใหม่ ดูง่าย ตอบโจทย์ผู้บริหารสถานีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที การนำเสนอข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ เข้าใจง่ายด้วยรูปแบบการแสดงผลเป็นกราฟที่ชัดเจน นำมาวิเคราะห์ใช้งานต่อได้จริง

" BMS ตอบโจทย์ได้ในทุกคำถาม เช่น "

พนักงานขาย : เดือนนี้ มีรายการไหน ที่ยังเหลือนาทีโฆษณาบ้าง?
ลูกค้า : เดือนนี้ สินค้า A ออกอากาศกี่ครั้ง/รายการไหนบ้าง/ออกอากาศ ชุดไหนบ้าง?
คิวโฆษณา : รายการ A งดออกอากาศ จะต้องแจ้งย้ายโฆษณา ของลูกค้ารายใดบ้าง?
ผู้บริหาร : แต่ละรายการ ใช้นาทีมีประสิทธิภาพแค่ไหน?

หากเรานำระบบ BMS ร่วมกับ Middleware สามารถนำรายละเอียดของผังรายการ รายละเอียดของเนื้อหาของละคร เรื่องย่อ สรุปประเด็นประจำวัน ไปแสดงร่วมกับ EPG บนจอแสดงบนของผู้รับชมทางบ้านได้อีกอย่างง่ายดาย

ทั้งนี้ระบบของBMS จะทำงานอย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับในสถานีโทรทัศน์ช่องใดช่องนึง ก็ต้องมีระบบ Media Access Management System (MAM) เข้ามาทำงานควบคู่กันไปไปในระบบด้วย เพราะการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นลักษณะในรูปแบบ File base work flow Solution .

By  วีรเทพ วุฒิ     weeratap@hotmail.com